วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557
การเกิดแผ่นไหวในประเทศไทย ในรอบ 40 ปี
การเกิดแผ่นไหวในประเทศไทย ในรอบ 40 ปี
วันที่ | ขนาด (แมกนิจูด) | จุดศูนย์กลาง | ความเสียหาย |
5 พ.ค. 2557 | 6.3 | อ.พาน จ.เชียงราย | บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ในจังหวัดเชียงรายและใกล้เคียงเสียหาย รับรู้ แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงใน กทม. |
4 มิ.ย. 2555 | 4.0 | อ.เมือง จ.ระนอง | รู้สึกสั่นไหวที่ ต.เขานิเวศน์ ต.บางนอน อ.เมืองระนอง จ.ระนอง |
16 เม.ย.2555 | 4.3 | อ.ถลาง จ.ภูเก็ต | รู้สึกไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต บ้านเรือนแตกร้าวหลายหลัง เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 26 ครั้ง ใน อ.ถลาง |
23 ธ.ค. 2551 | 4.1 | อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี | รู้สึกสั่นไหวในบริเวณ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี |
19 มิ.ย.2550 | 4.5 | อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ | รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน |
22 เม.ย.2550 | 4.5 | อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย | รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และ จ.พะเยา |
13 ธ.ค.2549 | 5.1 | อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ | รู้สึกสั่นสะเทือนได้เกือบทั่วไปใน จ.เชียงใหม่ และอาคารสูงใน จ.เชียงราย |
17 พ.ย.2549 | 4.4 | อ.พาน จ.เชียงราย | รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.พาน และ อ.เมือง จ.เชียงราย |
15 ธ.ค.2548 | 4.1 | จ.เชียงราย | รู้สึกสั่นสะเทือนได้ที่ อ.เมือง อ.เทิง จ.เชียงราย |
4 ธ.ค.2548 | 4.1 | จ.เชียงราย | รู้สึกสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน |
18 ธ.ค.2545 | 4.3 | อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | รู้สึกได้ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงราย |
2 ก.ค.2545 | 4.7 | อ.เชียงแสน จ.เชียงราย | รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน อ.เมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย, อ.เมือง จ.พะเยา, อ.เมือง จ.น่าน มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ |
22 ก.พ.2544 | 4.3 | เขื่อนเขาแหลม จ.กาญจนบุรี | รู้สึกได้ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี |
13 ก.ค.2541 | 4.1 | อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ | รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย |
2 ก.พ.2540 | 4.0 | บริเวณ อ.สอง จ.แพร่ | รู้สึกได้ที่ อ.สอง จ.แพร่ |
21 ธ.ค.2538 | 5.2 | อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน มีผู้สูงอายุเสียชีวิตที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 1 คน จากการล้มศีรษะ กระแทกพื้น มีความเสียหายเล็กน้อยที่บริเวณใกล้ศูนย์กลาง |
9 ธ.ค.2538 | 5.1 | อ.ร้องกวาง จ.แพร่ | รู้สึกได้ที่ อ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ และน่าน เสียหายเล็กน้อย ที่ จ.แพร่ |
5 พ.ย.2538 | 4.0 | อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ | รู้สึกได้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ |
17 ต.ค.2538 | 4.3 | อ.ปาย แม่ฮ่องสอน | รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ |
11 ก.ย.2537 | 5.1 | อ.แม่สรวย จ.เชียงราย | รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย มีความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง เช่น โรงพยาบาลพาน วัด และโรงเรียน |
8 พ.ค.2537 | 4.5 | จ.เชียงใหม่ | รู้สึกได้ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.ลำพูน |
5 พ.ย.2534 | 4.0 | จ.แม่ฮ่องสอน | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน |
3 พ.ย.2533 | 4.0 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี |
12 ต.ค.2533 | 4.0 | จ. เพชรบูรณ์ | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ |
28 พ.ค.2533 | 4.2 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี |
15 ธ.ค.2532 | 4.0 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี |
29 พ.ย.2531 | 4.5 | จ.กาญจนบุรี | สึกสั่นไหวที่ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี |
25 ก.ค.2531 | 4.2 | จ.พะเยา | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ |
19 ก.พ.2531 | 4.2 | จ.เชียงใหม่ | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ |
30 ส.ค.2526 | 4.2 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.กาญจนบุรี |
18 ก.ค.2526 | 4.7 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี |
22 เม.ย.2526 | 5.2 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย |
22 เม.ย.2526 | 5.9 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกแผ่นดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารใน กทม. เสียหายเล็กน้อย |
15 เม.ย.2526 | 5.5 | จ.กาญจนบุรี | รู้สึกแผ่นดินไหวชัดเจนใน กทม. |
20 มิ.ย.2525 | 4.3 | จ.เชียงใหม่ | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง มีเสียงดังคล้ายฟ้าร้อง |
22 ธ.ค.2523 | 4.0 | จ.แพร่ | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.แพร่ |
10 ก.พ.2523 | 4.2 | จ.เชียงใหม่ | รู้สึกสั่นไหวที่ จ.เชียงใหม่ นาน 5 วินาที |
24 ก.ค.2521 | 4.0 | จ.ตาก | รู้สึกสั่นไหวที่ อ.สามเงา อ.อุ้มผาง และ อ.แม่สอด จ.ตาก |
26 พ.ค.2521 | 4.8 | อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | เสียหายเล็กน้อยที่ อ.พร้าว รู้สึกสั่นไหวนาน 15 วินาที ที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง |
17 ก.พ.2518 | 5.6 | พม่า-ไทย (จ.ตาก) | รู้สึกได้ทั้งภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึง กทม. มีความเสียหายเล็กน้อย |
ผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ผลกระทบจากแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมากถ้าเกิดขึ้นบริเวณที่มีชุมชนมีประชาชนอยู่อาศัยหนาแน่นจะทำให้เกิดความสูญเสียมากมาย ความสั่นสะเทือนทำให้อาคารถล่มลงมาทับผู้คนที่อยู่อาศัยทำให้เส้นทางคมนาคมเสียหายระบบสาธารณูปโภคเสียหาย อาจทำให้เขื่อนพังทำให้เกิดอุทกภัยอย่างฉับพลันไว้
แผ่นดินไหวที่มีขนาดตั้งแต่ 5.0 ริกเตอร์ขึ้นไป สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารและสิ่งก่อสร้างได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวและสภาพทางธรณีวิทยาของที่ตั่งอาคารหรือสิ่งก่อสร้างผลกระทบของแผ่นดินไหวจะก่อให้เกิดความเสียหายในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังต่อไปนี้
1.ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
1.1ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเศษสิ่งปรักหักพังและการล้มทับของสิ่งก่อสร้างต่าง
1.2ที่อยู่อาศัยพังเสียหายไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ ทำให้ไร้ที่อยู่อาศัย
1.3ระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย อาจเกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ
1.4เกิดเหตุอัคคีภัยหรือไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
1.5สุขภาพจิตของผู้ประสบภัยเสื่อมลง
2.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
2.1ระบบธุรกิจหยุดชะงักเนื่องจากระบบการคมนาคมสื่อสารถูกทำลายไม่มีการประกอบหรือดำเนินธุรกรรม หรือการผลิตใด ๆ
2.2รัฐต้องใช้งบประมาณในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยการฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะต่างๆตลอดจนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของประชาชน
และหน่วยงานราชการต่างๆส่งผลถึงงบประมาณที่ขาดหายไปในการพัฒนาประเทศ
2.3 พืชผลทางการเกษตรเสียหาย
การปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ
หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
10. อย่าแพร่ข่าวลือ
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสีย
หายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน
ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้
แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)